.jpg)
1 คนไทยเข้าร่วมอาสา ช่วยเหลือผู้ประสบภัยฮากีบิส ที่ญี่ปุ่น
บอร์ด ความรัก,คนไทยเข้าร่วมอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยฮากีบิสที่ญี่ปุ่น ประสบการณ์ช.. โพสท์โดย warrior Bสมาชิกผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Sarinee Khammuangmool ได้โพสต์ภาพและข้อความระบุว่า คุณแม่อยู่ญี่ปุ่นเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครคนไทยช่วยเหลือผู้ประสบภัย ฮากีบิส เมืองนากาโนะ พร้อมแชร์วิธีการทำงานเพือเป็นแนวทางเมื่อเกิดภัยพิบัติในไทย โดยได้โพสท์เนื้อหารายละเอียดดังนี้ (ถึงเวลาแยกกันทำงานตามกลุ่ม ที่ทางเจ้าหน้าที่ได้แบ่งกลุ่มให้ 1กลุ่ม จะมีอาสาสมัครหลายคนและมีเจ้าหน้าที่ จากอำเภอ กลุ่มละ1คน) ประสบการณ์ของคุณแม่เรา #ที่ได้เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครคนไทยที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเหตุภัยพิบัติในเมืองนากาโนะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเรื่องที่คุณแม่มาเล่าให้ฟัง เราจึงได้เรียบเรียงและแชร์วิธีการทำงานของอาสาสมัครในเขต จ.นากาโนะ อำเภอซาคุ ประเทศญี่ปุ่นหวังว่า เรื่องราวนี้บางส่วนจะสามารถใช้แนวทางเมื่อเกิดภัยพิบัติสำหรับประเทศไทย และคนไทยที่ต้องการร่วมเป็นอาสาสมัครในต่างแดนจากเหตุการณ์พายุ ฮากีบิส นากาโนะ เป็นเขตเตือนภัยระดับ 5 โดยทำให้มีผู้เสียชีวิตในเขต จ.นากาโนะ อำเภอซาคุ 1 คน เหตุการณ์พายุ ฮากีบิส เป็นภัยพิบัติที่ร้ายแรงที่สุดในรอบ 60 ปีหลังจากเกิดภัยพิบัติ ช่วงคืนวันที่ 12 , 13 เขต จ.นากาโนะ อำเภอซาคุ ได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ โดยท่านนายอำเภอ เขตอำเภอซาคุ ได้โพสต์ลง twitter / ประกาศลงหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น / ประกาศในเพจ ของอำเภอ เพื่อขออาสาสมัครมาช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยให้อาสาสมัครมารวมตัวกันในสถานที่ ที่เรียกว่า “โนคาว่าไคกัง” ในวันนี้เอง วันที่ 14 ตุลาคม เวลา 09.00 น. มีอาสาสมัครเข้าร่วม 300 - 500 คน แทบทั้งหมดเป็นชาวญี่ปุ่น มีต่างชาติ 1 คน คือคุณแม่เรา ซึ่งเป็นคนไทย ที่ทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นมานาน เป็นล่ามภาษาไทยที่ทำงานที่สำนักงานอำเภอซาคุ ท่านรู้และเข้าใจเพราะท่านได้ร่วมช่วยเหลืองานร่วมกับภาครัฐ / เอกชน ของญี่ปุ่นมาตลอด เผื่อใครมีโอกาสได้มาเป็นจิตอาสาที่นี่ หรือหากประเทศไทยเราเกิดจะได้เตรียมความพร้อมไว้ในการเป็นจิตอาสาผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่น สิ่งที่ต้องเตรียมตัว1. ใส่เสื้อผ้าที่สามารถเปื้อนได้2. น้ำและอาหารกลางวันต้องจัดเตรียมไปเอง3. รองเท้า (กันน้ำ) หมวก ถุงมือ ให้เตรียมไปเองทั้งหมด4. อุปกรณ์ที่ใช้เคลียร์พื้นที่ เช่น พลั่วตักหิน ที่ตัดกินไม้ ฯลฯ มีอะไรก็ติดเอาไปเมื่อถึงสถานที่1. ลงทะเบียน ชื่อจริง นามสกุล เพศ ฯลฯ2. เค้าจะถามว่าเรามีความสามารถพิเศษ และต้องการมาช่วยตรงไหนบ้าง เพื่อคัดกรอง แยกไปตามงาน3. ให้อาสาสมัครทุกคน ไปทำประกัน (โฮเกน) เพื่อเวลาเกิดอุบัติเหตุ โดยส่วนประกันนี้ ทางอำเภอเป็นผู้ดูแลจัดการ4. ทุกคนต้องไปติดป้ายเขียนชื่อ - นามสกุล เป็นภาษาญี่ปุ่น (คาตาคานะ) ติดที่แขนซ้าย5. รอคำอธิบายจากเจ้าหน้าที่ว่าให้เราไปเขตไหน เขตอุทกภัย6. เจ้าหน้าที่ แบ่งกลุ่มอาสาสมัครเป็นกลุ่มๆ โดยมีเจ้าหน้าที่ของอำเภอหนึ่งคนต่อหนึ่งกลุ่มหลังจากไปช่วยเสร็จแล้วจะมีสภากาชาดตั้งเต็นท์รออาสาสมัคร1. สภากาชาดจัดให้มีการทำความสะอาดร่างกายเบื้องต้นดังนี้1.1 ล้างเท้า ล้างรองเท้า1.2 อ่างแรกเป็นอ่างล้างโคลนที่ติดมากับรองเท้า1.3 อ่างที่สองเป็นอ่างฆ่าเชื้อโรค1.4 หลังจากนั้นจะมีการพ่นน้ำยาที่มือเพื่อฆ่าเชื้อ1.5 ใช้น้ำยาบ้วนปากเพื่อไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาในตัวเราการทำแบบนี้เพื่อป้องกันเชื้อโรคระบาดที่มากับอุทกภัยเป็นการป้องกันอาสาสมัครที่เข้าร่วมให้ปลอดภัยจากโรคภัยหลังจากปฏิบัติงานเสร็จแล้ว1.6 หลังจากทำทั้งหมดถึงจะกลับเข้าไปรายงานตัวได้** ข้อมูลส่วนอื่นๆ ลงไว้ใต้รูปให้ค่ะวัตถุประสงค์ของสิ่งที่เรียบเรียงคือ- *ทุกคนสามารถเข้ามาเป็นจิตอาสาได้- เหตุภัยพิบัติเป็นสิ่งที่ห้ามไม่ได้ แต่เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้น การช่วยเหลือด้วยการเป็นจิตอาสาเราสามารถนำส่วนหนึ่งส่วนใดมาเป็นพื้นฐานการเตรียมตัวได้- อาสาสมัครนอกจากการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว ยังควรต้องดูแลตนเอง ปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด- การดูแลจากส่วนกลาง เพื่อดูแลอาสาสมัคร เป็นสิ่งที่พึงกระทำขอบคุณทุกท่านที่อ่านข้อความ ในระหว่างที่ทุกท่านกำลังอ่านข้อความนี้ ทางคุณแม่เอง ก็เสร็จสิ้นเรื่องอาสาสมัคร ไปแล้ว แต่ก็ยังช่วยคนไทยที่อยู่ที่นั่น จากเหตุภัยพิบัติครั้งนี้ ประสานงานให้ได้รับการดูแล #คนไทยไม่ทิ้งกัน ยังคงเป็นจริงเสมอ*คำไหนที่ผิดพลาดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ และถ้ามีโอกาสจะมาเล่าสู่ เรื่องการช่วยเหลือคนไทยในต่างแดนให้ได้ทราบ (ในเคสที่คุณแม่อนุญาตค่ะ) รถไฟชินกันเซ็น ที่ถูกน้ำท่วมเสียหายภาพสด หลังเกิดภัยพิบัติน้ำอาหารต่างๆ อาสาสมัครต้องนำมาเองค่ะ มีเต้นท์จากศูนย์สภากาชาดบ้านเค้ามารอสแตนบายภาพนี้อันซีน แต่สังเกตดีๆ ในกองยังมีความเป็นระเบียบเบาๆ เพิ่งสดๆร้อนๆ แยกส่วนขยะที่จัดสรรไม่ได้มากองรวมเป็นจุดล้างแล้วล้างอีก สำคัญคือ อนามัยของอาสาสมัคร เพราะภัยพิบัติมักมาพร้อมเชื้อโรคภาพความเสียหาย หลังภัยพิบัติ ติดป้ายซื้อแขนซ้าย เป็นภาษาญี่ปุ่นใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคล้างมือ ด้วยนะเช้านี้ที่อาสาสมัคร ได้มารวมตัวกันตามสถานที่นัดหมาย "โนคาว่าไคกัง" อาสาสมัครร่วม 500คน ต่อแถวอย่างเป็นระเบียบ ลงทะเบียน ทำประกัน และแยกกลุ่มทำงาน เข้าทุกซอกของทุกบ้าน เราช่วยกันทำหมด ทำลายในส่วนที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ความเสียหาย ในบางส่วน อาสาสมัครทุกคน เตรียมตัวมาเองอย่างดี ไม่เรียกร้องขออะไรทั้งนั้น ใครมีเครื่องไม่เครื่องมืออะไรก็นำติดตัวมาได้ เจ้าหน้าที่จะแยกความถนัดให้ กองเศษกิ่งไม้ แต่ขยะไม่มีมาก เนื่องจากได้ถูกแจ้งให้เก็บกวาดก่อนที่จะมีภัยพิบัติ เรียกว่าเตรียมพร้อมมาอย่างดี**บ้วนปากด้วย งงมั้ย เค้าให้บ้วนปากเพราะเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ทุกทาง ดังนั้นการบ้วนปากก็ต้องทำเมื่อเสร็จงานนอกจากทำงานจริงจัง เป็นอาสาก็จริงจังเช่นกันเสร็จแล้ว ก่อนกลับเข้าจุดลงทะเบียน ต้องทำความสะอาดรองเท้า ฆ่าเชื้อ