เหตุเกิดที่ รวันดา 1994 ในวันที่โลกหยุดหมุน (ภาพ 18+)

Homeเหตุเกิดที่ รวันดา 1994 ในวันที่โลกหยุดหมุน (ภาพ 18+)

บอร์ด ความรัก,เหตุเกิดที่รวันดาในวันที่โลกหยุดหมุนภาพ ประสบการณ์ช.. โพสท์โดย warrior Bเหตุเกิดที่ รวันดา 1994 ในวันที่โลกหยุดหมุนนี่คือเรื่องราวแห่งความเกลียดชัง ที่ถูกบ่มเพาะสร้างปมขึ้นมา จากคนเพียงไม่กี่คน จนนำไปสู่เหตุการณ์เศร้าสลดสะเทือนโลก ที่แม้แต่พระเจ้ายังต้องหลั่งน้ำตา เมื่อชีวิตของผู้คนนับล้าน ต้องสังเวยให้กับความบ้าคลั่ง อันเป็นผลพวงมาจากความเกลียดชัง ที่ถูกสื่อมวลชนผู้ฉ้อฉลยัดเยียดจนกลายเป็นกระแสสังคม อันนำไปสู่กระแสแห่งการฆ่าล้างผลาญชีวิตที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ เป็นการล้างผลาญชีวิตที่มีผู้ตกเป็นเหยื่อสังหารมากที่สุด ในช่วงระยะเวลาอันสั้นที่สุด เพียงแค่ 3 เดือนเศษเท่านั้นนี่คือเรื่องราวของการล้างเผ่าพันธุ์ใน รวันดา เหตุการณ์สลดที่โลกไม่อยากจดจำ แต่ต้องบันทึกไว้ว่า นี่เป็นบทเรียนเลือดที่ต้องย้ำเตือน นับจากเดือนเมษายน 1994 จนถึงเดือนกรกฎาคมในปีเดียวกัน ผู้คนมากกว่า 900,000 คน ถูกสังหารอย่างไร้ความปราณี กว่าที่เอื้อมหัตถ์แห่งความเมตตาจะเข้าโอบอุ้ม เพื่อยุติเหตุการณ์รุนแรงหนนี้ลงได้ ชีวิตผู้บริสุทธิ์ก็ได้สังเวยไปแล้วอย่างน่าสลดใจที่สุดรวันดา ประเทศเล็ก ๆ ในแอฟริกา มีเมืองหลวงชื่อ คิกาลี ประชาชนของประเทศนี้ประกอบด้วยชนเผ่าฮูตู ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศราว 85 เปอร์เซ็นต์ และชนเผ่าทุสซี่ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ แต่คนเผ่าทุสซี่ที่เป็นคนส่วนน้อยของประเทศนี้จะเป็นชนชั้นปกครอง มีสิทธิต่าง ๆ ที่มากกว่าเผ่าฮูตูซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ชาวเผ่าฮูตูจึงต้องตกอยู่ภายใต้การกดขี่จากเผ่าทุสซี่มาโดยตลอด โดยที่ในอดีตกาล ประเทศนี้เคยเป็นเมืองขึ้นของเยอรมัน จนเมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติลง เบลเยี่ยมได้เข้าครอบครองเป็นเจ้าอาณานิคม และได้นำนโยบายการแบ่งแยกประชาชนออกเป็นสองฝ่าย เพื่อให้ง่ายต่อการปกครองเบลเยี่ยมสนับสนุนการแบ่งชนชั้นด้วยการกำหนดรูปร่าง สีผิว ลักษณะโครงสร้างใบหน้าระหว่างชนเผ่าทั้งสองนี้ โดยกำหนดลงบนบัตรประชาชนว่าผู้ใดเป็นเผ่าฮูตู ผู้ใดเผ่าทุสซี่ ซึ่งลักษณะทางกายภาพที่เด่นชัดที่สุดคือเผ่าทุสซี่จะมีสีผิวที่ดำน้อยกว่าคนเผ่าฮูตู ชาวทุสซี่จะมีสถานะทางสังคมที่เหนือกว่า และมีสิทธิต่าง ๆ ที่มากกว่าพวกฮูตู ความขัดแย้งทางสังคมและเชื้อชาตินี้เองทำให้คนทั้งสองเผ่ามีเรื่องกระทบกระทั่งกันมาตลอดเวลา จนกระทั่งในปี 1962 รวันดาได้รับเอกราชจากเบลเยี่ยมนายคายิบานยา ชาวเผ่าฮูตูได้ทำการขับไล่ชาวทุสซี่ที่ปกครองประเทศออกไป และก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีของประเทศ รัฐบาลเผด็จการของเขาใช้นโยบายกดขี่ชาวทุสซี่ในฐานะชนกลุ่มน้อยของประเทศ เพื่อตอบโต้ที่ชาวทุสซี่เคยกดขี่ชาวฮูตูมาเป็นเวลาช้านาน และเพื่อสร้างคะแนนนิยมให้กับชาวฮูตู จนกระทั่งในปี 1973 เขาถูกปฎิวัติโค่นอำนาจลงโดยนายฮัมยาริบมาน ซึ่งเป็นคนสนิทของเขาและเป็นชาวฮูตูเช่นกันชาวเผ่าทุสซี่จึงเริ่มก่อตั้งกองกำลังจับอาวุธขึ้นต่อสู้ ภายใต้การสนับสนุนจากอเมริกา โดยมีฐานที่มั่น่ในอูกานดา โดยใช้ชื่อกลุ่มกองกำลังว่า RPF ทำการสู้รบกับรัฐบาลเผด็จการของนายฮัมยาริบมาน สงครามกลางเมืองเริ่มประทุขึ้น พร้อมกับการเข่นฆ่ากันของคนทั้งสองเผ่าที่ดำเนินต่อมาจนถึงปี 1990 RPF สามารถยึดพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไว้ได้ทั้งหมด ปธน ฮัมยาริบมาน มีแนวคิดที่จะประนีประนอมยอมเจรจากับกองกำลัง RPF เพื่อแบ่งพื้นที่การปกครองท่ามกลางความไม่พอใจและโกรธแค้นของทหาร ตลอดจนประชาชนชาวฮูตูหัวรุนแรงที่ต้องการกวาดล้างชาวเผ่าทุสซี่ให้หมดสิ้นไป สื่อมวลชนเริ่มโหมสร้างกระแสแห่งความเกลียดชัง และชักนำให้ชาวฮูตูเห็นว่าชาวทุสซี่คือแมลงสาบที่น่ารังเกียจ เป็นต้นตอของความชั่วร้ายทั้งมวลในรวันดา มีการจัดตั้งกองกำลังขึ้นมาในทุกหัวเมือง และตามหมู่บ้าน เพื่อเตรียมการกำจัดชาวทุสซี่ โดยมีอาวุธหลักคือมีดสปาต้าร์ในปี 1993 ปธน ฮัมยาริบมาน มีกำหนดการที่จะเซ็นสัญญาหยุดยิงกับกองกำลัง RPF เพื่อยุติสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อ จนลุถึงเดือนเมษายน 1994 เครื่องบินโดยสารที่เขานั่งไปเพื่อลงนามในสัญญาหยุดยิงกับผู้นำกองกำลัง RPF ถูกยิงตก ทุกคนบนเครื่องเสียชีวิตหมดรวมถึงตัว ปธน ฮัมยาริบมาน ด้วย ท่ามกลางความโกลาหลนี้ สื่อวิทยุฉวยโอกาศสร้างกระแสให้เกิดขึ้น โดยกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ชาวทุสซี่คือตัวการผู้สังหาร ปธน ดังนั้นพวกมันทุกคนต้องตาย พร้อมทั้งได้เรียกร้องให้ชาวฮูตู ออกทำการสังหารชาวทุสซี่ทุกคนที่พบหากชาวฮูตูผู้ใดเพิกเฉยต่อเรื่องนี้ ถือว่าเป็นผู้ทรยศและจะต้องถูกสังหารเช่นเดียวกัน ณ เวลานั้น ท้องถนนของกรุงคิกาลี และหมู่บ้านต่าง ๆ ทุกแห่งกลายเป็นทะเลเลือด ฝูงชนชาวฮูตูผู้บ้าคลั่งออกทำการปิดถนนเพื่อตรวจบัตรประชาชน ค้นและปล้นสะดมบ้านเรือนชาวทุสซี่ ก่อนที่จะทำการฆ่าทิ้งอย่างเลือดเย็น การสังหารหมู่ การข่มขืน เกิดขึ้นทุกหัวระแหง ท่ามกลางความโกลาหลและนองเลือดที่ถูกเพิกเฉยจากประเทศมหาอำนาจและองค์กรสิทธิมนุษยชน ในชั่วระยะเวลาเพียง 100 วัน ชาวทุสซี่กว่า 900, 000 คนถูกฆ่าอย่างไร้เหตุผล ไร้ความปราณี การล้างผลาญชาวทุสซี่อย่างบ้าคลั่งนี้ ได้ยุติลงเมื่อกองกำลัง RPF เคลื่อนกำลังจากทางภาคเหนือ บุกถึงกรุงคิกาลี จนสามารถยึดเมืองหลวง ยุติความตายที่กลืนกินชาวทุสซี่ทุกคนเอาไว้ได้โลกทั้งโลกเพิกเฉยไม่รับรู้กับสิ่งที่เกิดขึ้นในรวันดา ชาวรวันดาส่วนน้อยนิดที่ไม่เห็นด้วยกับความรุนแรงต่างพากันส่งข่าวการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งนี้ไปยังทุกคนในต่างประเทศที่ตัวเองรู้จัก นายพลโรเมโอ ผู้นำกองกำลังยูเอ็นเพียง 250 คน ได้รับภารกิจเพียงเพื่อดุแลการอพยพชาวตะวันตกออกจากรวันดา เขาขอกำลังเพิ่มจากยูเอ็น 5000 คน เพื่อยุติความโหดร้ายครั้งนี้ แต่คำขอได้รับการปฎิเสธ เนื่องจากอเมริกาเห็นว่าเหตุร้ายในรวันดา เป็นเพียงการจลาจลของประชาชน มิใช่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เหตุการณ์ดำเนินไปกว่าสามเดือน จนย่างสู่เดือนกรกฎาคมกว่าที่ยูเอ็นตัดสินใจว่าจะส่งกองกำลังทหาร 5000 คน เข้าสู่รวันดา แต่ถึงตอนนั้นกองกำลัง RPF ได้บุกยึดกรุงคิกาลีไว้ได้แล้ว การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยุติลง ท่ามกลางความตาย ซากศพ และความสับสนไม่เข้าใจว่า เหตุร้ายครั้งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ในชั่วระยะเวลาเพียง 100 วัน ที่ผู้คนมากมายมหาศาลต้องจบชีวิตลง สื่อมวลชนผู้สร้างกระแสนั่นเอง คือตัวการสำคัญ ที่เป็นเสมือนไม้ขีดไฟ ที่โยนลงไปในบ่อน้ำมันที่พร้อมจะระเบิดได้ตลอดเวลาความฉ้อฉล บิดเบือนและอคติจากสื่อ ตลอดจนความไม่รู้เท่าทันของประชาชน ผู้ถูกสื่อครอบงำจนขาดสติ เพียงเพื่อมุ่งหวังจงใจใช้ความเกลียดชังนี้ สร้างประโยชน์แก่คนบางกลุ่ม ทำการโฆษณาชวนเชื่อ ยุยงปลุกปัี่นจนนำมาซึ่งความรุนแรง ทำให้ชีวิตผู้บริสุทธิ์นับแสนต้องสังเวยไป เรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ต่างเวลา ต่างสถานที่ กงล้อประวัติศาสตร์ที่มักวนย้อนรอยเดิมเสมอ เรื่องเศร้าสลดนี้เกิดขึ้น ในวันที่พระเจ้าหลับไหล ในยุคที่สื่อมวลชนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อวิถีชีวิตของผู้คน มันเกิดขึ้นมาแล้ว ที่รวันดา 

Subscribe for Offers

Payment Method

paycard1 paycard2 paycard3 paycard4 paycard5

@https://www.megadoujin.org/ https www facebook com siamsport 2023 All Copyrights Reserved.

top