บอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้ เนื้อหาโดย sairung11เงินเดือน 8 หมื่นพอใช้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ภาระค่าใช้จ่าย ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต และระดับความพอใจของแต่ละคนยกตัวอย่าง เช่น ปัจจุบันมีเงินเดือน 80,เงินเดือนหมื่นแต่ไม่พอใช้ทำไงดี000 บาท แต่ภาระมากจนแทบไม่สามารถซื้ออะไรที่ต้องการได้ เช่น ตั้งใจจะซื้อเก้าอี้ดีๆสักตัว แต่ไม่ได้ซื้อมาหลายเดือนแล้วค่าใช้จ่ายหลักๆคือ ค่าผ่อนบ้าน เดือนละ 30,000 บาท ค่าผ่อนรถ เดือนละ 20,000 บาท ค่าน้ำมัน + ค่าไฟ เดือนละ 7,000 บาท ค่ากิน รวมๆ เดือนละ 18,000 บาททำให้เหลือเงินหักค่าใช้จ่ายแค่ 5,000 บาท ยังไม่นับกรณีมีค่าใช้จ่ายพิเศษอื่นๆทำให้บางเดือนแทบไม่เหลือเงินเลย เงินเก็บที่มีได้เอาไปดาวน์ทั้งบ้าน ทั้งรถ จนแทบไม่เหลือ พอเก้าอี้ที่ใช้อยู่มันพัง จะซื้อตัวใหม่ราคาก็เป็นหมื่น กลายเป็นปัญหาว่าเงินเดือนมากมายแต่ไม่มีปัญญาจะซื้อ ทั้งๆที่สมัยเริ่มทำงานใหม่ๆ เงินเดือนแค่ 3 หมื่นจะซื้อเก้าอี้ดีๆสักตัวได้แบบไม่ลังเลเลยทำไมเวลาผ่านไป อะไรๆมันยิ่งแย่กลายเป็นแบบนี้ไปได้ ควรจัดการยังไงกับชีวิตดีจากตัวอย่างข้างต้น เชื่อว่ามีมนุษย์เงินเดือนหลายคนที่กำลังเผชิญปัญหาอย่างเดียวกัน คือ มีค่าใช้จ่ายที่ใกล้หรือมากกว่ารายได้ แม้ว่าจะมีเงินเดือนสูงมากก็ตามทำไมถึงเป็นแบบนั้น?ประการแรก มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อมีรายได้มากขึ้น ความสามารถในการใช้จ่ายสูงขึ้น ความต้องการจึงมากขึ้น และตามมาด้วยการก่อหนี้เพื่อสนองต่อความต้องการนั้นประการที่สอง ความต้องการมีชีวิตดีในวันนี้ ต้องมีบ้านหลังใหญ่ มีรถคันใหม่ หลายคนจึงมักชอบเปิดศึกทีเดียวหลายด้าน ก่อหนี้รถ ก่อหนี้บ้าน และวนมาก่อหนี้รถอีกครั้ง (เมื่อรถเดิมมันเก่า) ความกล้าในการก่อหนี้ มาจากความมั่นใจว่าตัวเองจะมีรายได้สูงและเติบโตต่อเนื่อง จนลืมคิดไปว่าการก่อหนี้คือการสร้างภาระที่ต้องชดใช้ เพิ่มทับไปกับค่าใช้จ่ายต่างๆที่มันมีอยู่หรือกำลังจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีครอบครัว จะต้องเผชิญกับกับดักหนี้สิน ภาระดอกเบี้ยจ่าย ภาระค่าใช้จ่ายที่มีแต่มากขึ้น แม้เงินเดือนสูง แต่เจอกับพายุค่าใช้จ่าย จึงทำให้แทบไม่มีเงินเหลือเก็บประการที่สาม ความประมาทในการใช้ชีวิต เชื่อว่าตัวเองจะมีรายได้สูงตลอดไป ฉะนั้นค่าใช้จ่ายที่มากมายในวันนี้และวันข้างหน้า ยังไงก็มีปัญญาหาเงินมาจ่ายได้แน่นอน แต่ความจริงคือชีวิตเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน โรคภัยไข้เจ็บ การตกงาน ฯลฯ เมื่อความสามารถในการหาเงินลดลง แต่ค่าใช้จ่ายต่างๆมันยังมีอยู่ ทั้งรายจ่ายเพื่อยังชีพ และรายจ่ายดอกเบี้ยจากหนี้ที่ได้ก่อไว้ ปัญหามันจึงเกิดขึ้นประการที่สี่ ความเข้าใจผิดว่าการก่อหนี้ในทรัพย์สินที่จำเป็นเช่น บ้าน รถ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ใครๆเค้าก็ทำ คนที่คิดแบบนี้คือคนที่ไม่เข้าใจว่า ทรัพย์สินที่มาจากการก่อหนี้นั้นมันเป็นภาระ ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ย หรือค่าดูแลรักษา หากวันใดที่ความสามารถในการหารายได้ลดลง ไม่มีเงินจ่ายค่างวด ทรัพย์สินเหล่านั้นมันก็จะอันตธานหายไปจากการถูกยึด แถมด้วยการถูกขึ้นแบล็คลิสต์อีกต่างหากประการที่ห้า ลืมคิดไปว่าตัวเองต้องแก่ ภาระค่าใช้จ่ายต่างๆที่มันมากจนเกินไป ค่างวดบ้าน รถ ค่าใช้จ่ายในบ้าน ค่าเทอมลูก บางบ้านลูกต้องเรียนโรงเรียนดีๆ ต้องทุ่มเงินเพื่ออนาคตของลูก แต่ลืมคิดถึงอนาคตของตัวเอง ทำให้เงินออมเพื่อไว้ใช้หลังเกษียณมีน้อยเกินไป จากชีวิตดีๆคราวนี้ได้กลายเป็นยาจกง่ายๆประการที่หก ไม่ทันคิดเรื่องดอกเบี้ยมันมีทั้งขาขึ้นและขาลง ตอนอยากได้บ้าน ไม่สนใจอะไรทั้งนั้นว่าดอกเบี้ยมันจะคงที่กี่ปี ลอยตัวกี่ปี และหากดอกเบี้ยมันขึ้นพรวดๆ ภาระการจ่ายค่างวดมันจะเป็นเท่าไหร่ ล่าสุดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยทุกธนาคารปี 2566 คงที่ 2 ปีแรก 3-4.7% และ MRR 6.8-8.3% ทีนีก็มาโอดครวญ ค่างวดโปะได้แต่ดอก ถ้าผ่อนแบบนี้ไปจนครบ 30ปี รวมค่างวดทั้งหมดมากกว่าราคาบ้านเกินเท่าตัว หาว่าธนาคารเอาเปรียบบ้างละ หาว่าเศรษฐกิจไม่ดีบ้างล่ะ หาว่าการเมืองไม่ดีบ้างละ โทษทุกอย่างยกเว้นโทษตัวเอง ตอนกระสันอยากได้บ้าน ดี๊ด๊าแค่ไหนที่ธนาคารให้กู้แนวทางที่ถูกต้องควรต้องเป็นอย่างไรก่อนจะก่อหนี้ต้องถึงระลึกไว้เสมอว่า ความเสี่ยงและดอกเบี้ย คือ 2 สิ่งที่น่ากลัวที่สุด ดังนั้น ต้องประเมินตัวเองว่ามีความสามารถในการชำระหนี้ในวันนี้และอนาคตได้แค่ไหน หากยังไม่มาก ต้องลดความต้องการลง ให้ความสำคัญต่อการเก็บออมหรือลงทุนในสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดผลตอบแทน มากกว่าที่จะรีบไปก่อหนี้เพื่อมีทรัพย์สินที่เป็นภาระในระยะยาวควรเลิกนิสัยใช้ก่อนหา เพราะมันจะไม่มีวันเพียงพอ ความไม่รู้จักยับยั้งความต้องการ จะทำให้หามาได้เท่าไหร่ก็ใช้ไปหมด จึงควรต้องปรับทัศนคติเปลี่ยนเป็น หาก่อนให้มากๆและใช้ให้น้อยที่สุด ทัศนคติแบบนี้จะทำให้ความอยากลดลง เกิดความประหยัด เป็นคนกินง่ายอยู่ง่าย ไม่มีความฟุ่มเฟือย หามาได้เท่าไหร่ก็เก็บได้เท่านั้นในระหว่างการหา อดออมและลงทุนเพื่อสะสมความมั่งคั่ง อย่าเพิ่งรีบร้อนเปิดศึกสร้างภาระค่าใช้จ่ายหลายด้าน เช่น การก่อหนี้บ้าน ก่อหนี้รถ มีครอบครัวและมีลูก ไปพร้อมกัน ควรเรียงลำดับค่อยๆจัดการทีล่ะเรื่องเพื่อลดภาระให้มากที่สุดบางคนเชื่อว่า ทำแบบนั้นแล้วชีวิตจะสนุกตรงไหน ตายไปก็ไม่สามารถเอาเงินไปใช้ได้ สู้ใช้ชีวิตให้เต็มที่ในวันนี้ไปก่อนเลยดีกว่าความเชื่อแบบนั้น บอกได้เลยว่า มีเงินแล้วไม่ได้ใช้เพราะต้องตายก่อนอะ มันไม่น่ากลัวหรอก ไอ่ที่มันน่ากลัวน่ะคือยังไม่ทันได้ตายแต่ไม่มีเงินจะใช้เนี่ยแหละ มันนรกกว่ามากๆ ปรับลดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ลดค่าใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยว กินอาหารนอกบ้าน ช้อปปิ้ง เป็นต้น หารายได้เสริม เช่น ทำงานพิเศษ ลงทุน เป็นต้น วางแผนการใช้จ่ายอย่างรอบคอบ เช่น ทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อดูว่าเงินแต่ละบาทใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง วางแผนการออมเงินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีเงินเหลือเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น
@https://www.megadoujin.org/ https www facebook com siamsport 2023 All Copyrights Reserved.
top